ECT_knowledge


ECT_knowledge

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
A blog (a contraction of the words web log)[1] is a discussion or informational site published on the World Wide Web and consisting of discrete entries ("posts") typically displayed in reverse chronological order (the most recent post appears first). Until 2009 blogs were usually the work of a single individual, occasionally of a small group, and often covered a single subject. More recently "multi-author blogs" (MABs) have developed, with posts written by large numbers of authors and professionally edited. MABs from newspapers, other media outlets, universities, think tanks, interest groups and similar institutions account for an increasing quantity of blog traffic. The rise of Twitter and other "microblogging" systems helps integrate MABs and single-author blogs into societal newstreams. Blog can also be used as a verb, meaning to maintain or add content to a blog.


 Free  Weblog

www.blogger.com     
www.exteen.com
www.mapandy.com
www.buddythai.com
www.imigg.com
www.5iam.com
www.blogprathai.com
www.ndesignsblog.com

ที่มา   http://book.manacomputers.com/free-make-blog-list-and-adsense/
               http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81



Facebook Etiquette มารยาทในการใช้เฟสบุ๊คที่คนรุ่นใหม่ควรรู้

ใช้เฟสบุ๊คกันมานานเป็นเวลาระยะหนึ่ง สังเกตว่าแต่ละคนมีสไตล์การโพส อัพเดท หรือเม้นท์ ในหน้าของตนเองและของเพื่อนต่างๆ กันไป บางครั้งก็มีบ้างที่เจอข้อความทั้งของเราและเพื่อน ที่อ่านแล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยประทับใจ จะเปรียบเทียบไปก็เหมือนกับเราไปได้ยินคนอื่นใช้คำหยาบหรือใช้วาจาที่ไม่เหมาะสม สารดังกล่าวนั้นทำให้ผู้รับสารรู้สึกลำบากใจที่ได้รับรู้ ถึงแม้ว่าเฟสบุ๊คจะเป็นการสื่อสารในกลุ่มของเพื่อนซึ่งอาจถือว่าเป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ แต่ลักษณะของสารที่เราส่งไปนั้นไม่ใช่การสื่อสารแบบตัวต่อตัวเหมือนกับการพูดกันซึ่งหน้า ข้อความที่เราโพสหรือส่งไปนั้นอาจเห็นได้ในวงเพื่อน คนรู้จัก ซึ่งบางทีเราก็คิดว่าเพื่อนเราเองโพสขำๆ คงไม่เป็นไร แต่เราอาจทำให้เขาอับอาย เสียหน้า โดยไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้น คนรุ่นนี้ ควรต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารทางเฟสบุ๊คอย่างมีประสิทธิภาพ

ดิฉันอยากรู้เรื่องนี้ก็เลยใช้ กูเกิล ค้นหาคำว่า มารยาทในการใช้เฟสบุ๊คเป็นภาษาไทย แต่ยังไม่เจอว่ามีใครเขียนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่พอลองใช้คำค้นภาษาอังกฤษ Facebook Etiquette ก็เจออยู่หลายเรื่องทีเดียว ลองอ่านๆดูก็พบเรื่องนี้ที่เขียนได้ดีทีเดียว ลองอ่านกันดูว่ามีคำศัพท์อะไรน่าสนใจบ้างนะคะ
เนื้อหาภาษาอังกฤษนำมาจาก
Source: http://www.hongkiat.com/blog/facebook-etiquette/
Facebook Etiquette
There is a general agreed upon courtesy or etiquette for online communication which we can apply to the phenomenal social networking site. Nevertheless, there is no such thing as hard and fast rules for spontaneous social interactions because they are ever-changing.
แม้ว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว hard rules สำหรับการสื่อสารทางเฟสบุ๊ค อย่างไรก็ตาม มารยาทบางประการที่รู้กันว่า สิ่งที่ควรทำในการสื่อสารออนไลน์มีอะไรบ้าง
courtesy   แบบแผน ธรรมเนียม
etiquette  มารยาท
A general agreed upon คือ  สิ่งเป็นที่รู้กัน ต่างก็เห็นต้องกัน
phenomenal  เป็นปรากฎการณ์ คือการนิยมการใช้ social network
hard rules กฎเกณฑ์ตายตัว
spontaneous  ตอบสนองทันทีทันใด

The following etiquettes are guidelines to enhance our social interactions and experience with Facebook. 
Five Dos: สิ่งที่ควรทำ ห้าประการ 
1. Message Private Matters Instead of Posting On Wall 
ควรใช้วิธีส่งข้อความส่วนตัวทางแมสแสจไม่ใช่การโพสบนวอลล์
เช่น
เรา ฝากน้องซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเข้าบ้าน ก็โพสต์ผ่านวอลของตนเอง หารู้ไม่ว่าเพื่อนๆ ของคุณและของน้องๆ ก็จะเป็นความเป็นไปส่วนตัวของครอบครัวเราไปหมด เรื่องแค่นี้ โทรศัพท์คุยกันจะดีกว่าไหมคะ
อีกอย่าง คนบางคนไปทำอะไรมาก็ชอบมาแชร์ให้เพื่อนๆ รู้ แม้แต่เรื่องส่วนตัวมากๆ ก็เอามาประกาศในที่สาธารณะ บางทีเรื่องที่เราเห็นตลกขบขัน เช่น รูปงานปาร์ตี้เมื่อคืนที่มีเพื่อนทำท่าแปลกๆ หลุดโลก แต่เมื่อเราเอารูปพฤติกรรมเหล่านั้นที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเพื่อนมาประกาศ เพื่อนอาจไม่พอใจก็ได้ จะโพสรูปใครต้องขออนุญาตคนที่เกี่ยวข้องก่อน จะปลอดภัย และเป็นการให้เกียรติกันด้วย

"Best to keep these conversations behind closed doors in Facebook Messaging."

Keep behind closed
doors    เก็บเป็นความลับ ทำในที่ลับ
2. Be Mindful Of What You Post
คิดให้ดีว่าสิ่งที่เราโพสจะทำให้คนอื่นคิดมากหรือไม่
[บางทีถ้าเราบ่นหรืออัพอะไรไปลอยๆ เราเองไม่ได้มีเจตนาอะไรแต่คนอ่านนั้นอาจจะคิดต่างไปจากเรา อาจคิดว่าไปว่าเราโพสว่ากระทบเขาหรือเปล่า เช่น เราแสดงความเห็นเกี่ยวกับโฆษณาที่หลอกให้ซื้อสิ่งของต่างๆ  ยกตัวอย่างเช่น สินค้าTV Direct หรือสินคาขายตรงต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้บางคนทำเป็นอาชีพเสริม บางคนเขาขายของในเว็บอยู่แล้ว เขาก็อาจเข้าใจผิดก็ได้
What you may not realize is that some of your friends in the advertising industry could see your status in their newsfeed. It’s a general statement, but they might think you are targeting them. Of course, it’s not going to be any fun if you’re going to consider all the possible misinterpretations before you post anything, but just be mindful of it.
you are targeting them  ตั้งใจโจมตีกลุ่มคนนั้นๆ
just be mindful of it      ใส่ใจ หรือคิดให้ดี
เพื่อนบางคนมาอ่านเห็นอาจคิดว่าเราตั้งใจโพสว่าเขาหรือเปล่า ดังนั้นจะโพสอะไรก็ไตร่ตรองให้ถ้วนถี่นะคะ
3. Call Rather Than Post Personal News
ใช้โทรศัพท์ในการติดต่อข่าวสำคัญ อย่าประกาศบนวอลล์
เช่น ข่าวการเสียชีวิตคนในครอบครัว เชิญไปงานสำคัญ เรื่องสำคัญ การนัดหมายเป็นทางการต่างๆ
This isn’t just Facebook etiquette; it’s social etiquette or even common sense. If you need to inform your friends or your family about some important and personal news (e.g. death in the family), don’t declare it out in the public domain. Facebook is a social networking site; it’s supposed to be public. This means that people can know what happened.
สิ่งนี้ไม่ใช่แค่มารยาทออนไลน์ แต่เป็นมารยาททางสังคมที่ต้องใช้สามัญสำนึก เช่น หากมีคนในครอบครัวเสีย การแสดงความเสียใจ ควรจะบอกกันด้วยวาจาดีกว่า การพูดจะดูจริงใจมากกว่าการทิ้งข้อความ เรื่องนี้เป็นมารยาทสังคมที่พึงกระทำอยู่แล้ว เช่น เราอยากจะบอกเลิกกับใครก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะบอกโดนการส่งข้อความ หรือการโทรศัพท์
The other reason not to post is courtesy. It’s the same reason why you shouldn’t use SMS (or even the phone) to break up with someone. It’s rude and insincere to break important news, be it good or bad ones, without having some form of genuine communication through voice tones and body languages.
It’s rude and insincere to break important news
เป็นการเสียมารยาทและไม่จริงใจในการบอกข่าวสำคัญผ่านเฟสบุ๊ค


 ulead


1. Step Panel
      กลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ ของการตัดต่อวีดีโอ เช่น ต้องการจับภาพจากกล้องวีดีโอก็คลิกปุ่ม Capture หากต้องการแก้ไข/ตัดต่อวีดีโอ คลิกปุ่ม Edit ต้องการใส่ข้อความในวีดีโอ คลิกปุ่ม Title เป็นต้น
2. Menu Bar
     แถบเมนูของชุดคำสั่งต่างๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ เป็นต้น
3. Options Panel
      ส่วนนี้จะมี ปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ ฟังชั่นก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ สำหรับจัดการกับคลิปวีดีโอ หรือคุณเลือกเสียง ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น
4. Preview Window
      หน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบัน, ตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟ็กต์, หรือตัวหนังสือ ต้องการดูผลลัพธ์ของการตัดต่อต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้
5. Navigation Panel
      มีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวีดีโอและสำหรับตัดวีดีโอ ในขั้นตอนการจับภาพ, ส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้องวีดีโอ เช่น เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ กรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็นต้น
6. Library
      เก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้สะดวกในการเรียกใช้งาน
7. Timeline
      แสดงคลิป, ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ

Step Panel
            ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง
ขั้นตอนตัดต่อคือ
1.Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)
2.Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
3.Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)
4.Overlay (ทำภาพซ้อน)
5.Title (ใส่ตัวหนังสือ)
6.Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
7.Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)
            ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้ หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ
ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
    เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ ได้ วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้ อีกด้วย
    ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
    ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Library
ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
    ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
    ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
    ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็นต้น
    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD
ดาวน์โหลดคู่มือโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ  Ulead VideoStudio อย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น